บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 2
วัน จันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2559
ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์สอนบทที่ 2 เรื่อง หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
- ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
- ความสำคัญ
หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน
การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่
ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก
ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองLinda Bierstecker, 1992 กล่าวว่า
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง (parent education) หมายถึง การให้ผู้ปกครองได้เข้าใจว่าเด็กได้ทำกิจกรรมอะไรที่โรงเรียนอนุบาลหรือศูนย์เด็ก
เพื่อให้ผู้ปกครองได้เข้าใจวิธีการที่จะช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้สรุปความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองสรุปได้ว่า
การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม
ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม
ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง
ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู
และให้การศึกษาแก่เด็ก
เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองVerna, 1972 กล่าวว่า การให้ความรู้ผู้ปกครอง
จะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งกันและกัน อันจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งต่อกัน
ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดความสับสน
แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยLinda Bierstecker, 1992 ได้เสนอแนวทางในการเตรียมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไว้ดังนี้การวางแผน-
กำหนดวัตถุประสงค์
-
จัดเตรียมการประชุม
-
จัดทำกำหนดการประชุม
ดำเนินการประชุมประเมินผลการประชุม-
การบรรลุวัตถุประสงค์
-
ความพร้อมของการประชุม
-
หัวข้อการประชุม
-
ขั้นตอนการประชุม
ฯลฯการออกจดหมายข่าวผลประชุม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น